การเคลื่อนที่ของปลา


สัตว์จำพวกปลาเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังและอาศัยอยู่ในน้ำ โครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนไหวและรูปร่างของปลาแตกต่างไปจากสัตว์ที่อาศัยอยู่บนบก ปลามีรูปร่างแบนและเพรียว ทำให้ลดแรงเสียดทานระหว่างตัวปลากับน้ำไปได้มาก ยิ่งกว่านั้นปลายังมีเมือกซึ่งลื่นอาบอยู่ที่ผิดลำตัวอีกด้วย จึงทำให้แรงเสียดทานระหว่างผิดลำตัวปลากับน้ำลดลงไปมากยิ่งขึ้น ปลาสามารถเคลื่อนที่ได้ในทุกทิศทาง เนื่องจากปลามีกล้ามเนื้อซึงยึดติดอยู่กับกระดูกสันหลังทั้งสองข้าง และปลายังมีกล้ามเนื้อยึดเกาะกับกระดูกครีบต่างๆเมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้ทำงานก็ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของลำตัวและครีบทำให้เกิดการเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่ของปลาสรุปได้ดังนี้
1. เมื่อกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับกระดูกสันหลังด้านใดด้านหนึ่งหดตัว (เริ่มจากส่วนหัวมาทางส่วนหาง) ทำให้เกิดการโบกพัดของครีบหาง(Caudal fin) ดันให้ตัวพุ่งไปข้างหน้าโดยมีครีบหลัง(Dorsal fin) ช่วยในการทรงตัวไม่ให้เสียทิศทาง
2. เมื่อกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับกระดูกสันหลังอีกด้านหนึ่งหดตัว (เริ่มจากส่วนหัวมาทางส่วนหาง) ก็จะมีผลเช่นเดียวกับ ข้อ 1
3. ครีบอก(Pectoral fin) และครีบตะโพก(Pelvic fin) ซึ่งเทียบไปกับขาหน้าและขาหลังของสัตว์บก จะทำหน้าที่ช่วยพยุงลำตัวปลา และช่วยให้เกิดการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งการเคลื่อนที่ของปลาเป็นรูปตัว S สลับไปสลับมาการที่ปลามีรูปร่างยาวแบน และมีครีบที่แบนบาง ทำให้ปลาเคลื่อนที่ไปในน้ำได้ทั้ง สามมิติ คือ สามารถ เคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือถอยหลังก็ได้ เลี้ยงซ้ายเลี้ยวขวาก็ได้ และขึ้นลงในแนวดิ่งก็ได้ ถ้าหากเคลื่อนที่ไปข้างหรือถอยหลังอย่างเดียว เป็นการเคลื่อนที่แบบมิติเดียว ถ้าหากมีเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาด้วย เป็นการเคลื่อนที่สองมิติ และถ้าหากมีการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งขึ้นลงไปพร้อมๆกันด้วย ก็จัดว่าเป็นการเคลื่อนที่แบบสามมิติ
เกร็ดความรู้
โลมา และ วาฬ มีส่วนกระดูกคอที่สั้นทำให้กลมกลืนระหว่างลำตัวกับหัว ขาคู่หน้าเปลี่ยนไปเป็นครีบช่วยในการว่ายน้ำ และขาคู่หลังก็หดหายไปแต่มีหางที่แบนขนาดใหญ่ ขนาดกับพื้นการเคลื่อนที่ใช้การตวัดหางขึ้นลงสลับกัน และใช้ครีบหน้าช่วยในการพยุงตัว ทำให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น