วันอังคาร, กันยายน 15, 2552

3.การเคลื่อนที่ของนก



การเคลื่อนที่ของนก




นกเป็นสัตว์ที่เคลื่อนที่โดนการขยับปีกและบินไปในอากาศ นกมีลักษณะที่เหมาะสมในการบินหลายประการ คือ


1. นกมีกระดูกกลวงทำให้ตัวเบาและอัดตัวกันแน่น ทำให้นกมีขนาดเล็ก และรูปร่างเพรียวลม จึงเคลื่อนตัวไปในอากาศได้ดี




2. นกมีกล้ามเนื้อที่ใช้ในการขยับปีกที่แข็งแรงโดยกล้ามเนื้อนี้จะยึดอยู่ระหว่างโคนปีกกับกระดูกอก (Keel or sternum) กล้ามเนื้อคู่หนึ่งทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อยกปีก (levanter muscle) คือกล้ามเนื้อเพกทอราลิสไมเนอร์ (Pectoral is minor) และกล้ามเนื้ออีกคู่หนึ่งมีขนาดใหญ่มากทำหน้าที่ในการหุบปีกลง (Depresses muscle) คือกล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์(Pectoral is major) การทำงานของกล้ามเนื้อคู่นี้ก็จะมีลักษณะเป็นแอนทาโกนิซึมด้วย คือขณะที่นกกดปีกลงกล้ามเนี้อเพกทอราลิส เมเจอร์ จะหดตัวส่วนเพกทอราลิส ไมเนอร์ จะคลายตัว ขณะที่นกยกปีกขึ้นกล้ามเนื้อเพกทอราลิสไมเนอร์ จะหดตัวขณะที่กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์จะคลายตัวสลับกันไป




3. นกมีถุงลม(air sac)ถุงลมของนกเจริญดีมากและอยู่ติดกับปอด นอกจากนี้ยังแทรกเข้าไปในโครงกระดูกด้วย ในขณะที่นกหายใจเข้ากระดูกอดจะลดต่ำลง ถุงลมขยายขนาดขึ้นอากาศจะไหลผ่านเข้าสู่หลอดลม เข้าสู่ปอดและเข้าสู่ถุงลมตอนท้าย ส่วนอากาศที่ใช้แล้ว จะออกจากปอดเข้าสู่ถุงลมตอนหน้า ในขณะที่หายใจออก อากาศจากถุงลมตอนท้ายจะเข้าสู่ปอด ทำให้ปอดพองออกและอากาศจากถุงลมตอนหน้าถูกขับออกนอกร่างกายต่อไปเป็นอย่างนี้เสมอ การมีถุงลมของนกทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทอากาศให้แก่ปอดเป็นอย่างดี ถุงลมทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยปอดเท่านั้นไม่ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส การที่นกบินต้องใช้พลังงานจำนวนมาก ดังนั้นนกจึงมีเมแทบอลิซึมสูงมาก ต้องกินมาก และใช้ออกซิเจนมากด้วย




4. นกมีขน(Feather)ขนของนกบางและเบาช่วยในการอุ้มอากาศขนที่เป็นปีกช่วยในการดันอากาศขณะหุบปีกลงทำให้ตัวนกพุ่งไปข้างหน้าการเคลื่อนที่จองนกไปในอากาศจะเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับตัวน้ำหนักของตัวนก ขนาดของปีก ความเร็วของการขยับปีก และกระแสลม ในขณะที่นกเริ่มบิน จะต้องให้แรงอย่างมาก แต่เมื่อลอยตัวอยู่ในอากาศแล้วก็ไม่ต้องใช้แรงมากนัก การบินทั่วๆไปของนกมีดังนี้




1 นกกางปีกออกเต็มที่

2. ต่อจากนั้นนกจะโบกปีกลง ทำให้ลำตัวของนกเชิดขึ้น เนื่องจากเกิดแรงปะทะกับอากาศ ตัวนกจึงลอยขึ้นไปในอากาศได้

3. ปีกที่โบกลงนั้นจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ทำให้เกิดแรงปะทะกับอากาศเพิ่มมากขึ้น
4.เมื่อโบกปีกลงและเคลื่อนที่ไปข้างหน้า นกจะยกปีกขึ้น และสะบัดไปข้างหลังอย่างแรง ทำให้ตัวนกพุ่งไปข้างหน้า กระบวนการต่างๆ นี้จะเกิดขึ้นเร็วมากจึงทำให้นกได้อย่างรวดเร็ว




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น